เขาชีจรรย์

27 พ.ย.

เขาชีจรรย์

พระพุทธรูปที่เขาชีจรรย์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยรอบวัดญาณสังวราราม เป็นภูเขาสูงหลายลูก เช่น เขาชีโอน เขาชีจรรย์ เขาดิน เป็นต้น โดยเฉพาะเขาชีจรรย์ มีความสูงเด่นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ได้มีการขอสัมปทางทำการระเบิดหิน เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างมาแล้วช้านาน ในปัจจุบันเขาดังกล่าว ได้เสียสภาพความเป็นธรรมชาติไป เนื่องจากระเบิด เสียงระเบิดทำให้เสียบรรยากาศในการปฏิบัติสมาธิ แม้กระทั่งสัตว์ป่าต่าง ๆ และนกซึ่งเดิมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ต่างก็หลบหนลี้ภัยไปอยู่ ณ ที่อื่น จึงได้มีพระราชดำริว่าควรจะหาทางระงับการระเบิดที่เขาชีจรรย์ และโปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักภูเขาด้านที่ถูกระเบิดเป็นพระพุทธรูปแทน

เนื่องในวโรกาศที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ทางวัดญาณสังวรารามมหาวรวิหาร ในสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลสหาสังฆปรินายก ทรงพิจารณาเห็นว่าเ หมาะสมที่จะสร้าง พระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหนามงคงวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนี้ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาและยังเป็นการอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงอยู่ในสภาพที่ควรเป็น

ซึ่งเขาชีวรรย์นี้ มีความสูงประมาณ 169 เมตร มีฐานกว้าง 255 เมตร อยู่ห่างจากวัดญาณสังวรารามฯ ไปทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพของเขาชีจรรย์เดิม ทีมีการขอสัมปทานทำาการระเบิดหินเพื่อนำไปใช้งานก่อสร้างมาแล้วช้านาน และส่วนที่เหลือจึงกลาย เป็นหน้าผาหินสูงชัน

หลังจากที่วัดญาณสังวรารามฯและคณะกรรมการโครงการจัดสร้าง พระพุทธรูปแกะสลัก หน้าผาเขาชีจรรย์ได้พิจารณาหาข้อมูล และนำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักพระพุทธรูปที่หน้าฝาเขาชีจรรย์เป็นแบบลายเส้น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ได้เสร็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี บรวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธ์ก่อนเริ่มโครงการจัดการสร้างพระพุทธรูป ณ. เขาชีจรรย์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2538 ที่ผ่านมา

การแกะสลักพระพุทธรูปที่มีชื่อเรียกขานว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดความสูง 150 เมตร หน้าตักกว้าง 100 เมตร ประดิษฐานบนฐานบัว ซึ่งบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ จำกัด จะใช้เวลาดำเนินการแกะสลักหินเขาให้เป็นพระพุทธรูปองค์นี้ประมาณหนึ่งปี งบประมาณในการ ใช้จ่ายนี้บริษัทตั้งไว้ 43,305,800 บาท ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้ว เมื่อการแกะสลักเป็นรูปองค์พระรูปแล้วเสร็จก็จะสามารถมองเห็นชัดแต่ไกลและมีความสวยงามกลมกลืนเข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

ที่มา วัดญาณสังวราราม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *